การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในเขตพัฒนาที่ดิน

เข้าเรียน

ช่วงเวลาเข้าเรียน
เข้าเรียนตามกำหนดเวลา
เนื้อหา
4 ชุดวิชา ชุดวิชาละ 5 บทเรียน (20 วิดีโอ)
จำนวนเวลาที่ใช้เรียน
20 ชั่วโมง
เกณฑ์การเรียนจบ
ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป



คำอธิบายรายวิชา
  เนื่องจากประเทศไทย ได้ชื่อว่าเป็นประเทศเกษตรกรรม มีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 130 ล้านไร่ กระจายทั่วทุกภาคของประเทศ ดินและที่ดินจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญทางการเกษตร ซึ่งดินดังกล่าวมีสมบัติแตกต่างกันตามวัตถุต้นกำเนิดดิน สภาพพื้นที่ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน และการบำรุงรักษาที่ดิน

  ดังนั้น การวิเคราะห์สภาพพื้นที่และปัญหาในเขตพัฒนาที่ดิน การวางมาตรการและแนวทางการวางแผนการใช้ที่ดิน จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ทุกคนต้องเรียนรู้ และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันของการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินทำการเกษตรกรรม เพื่อเป็นการช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรดินและที่ดิน ให้มีความอุดมสมบูรณ์ มีสภาพเหมาะสมต่อการปลูกพืช และสามารถใช้ประโยชน์ได้

  การฝึกอบรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระบบ LDD e-Training หลักสูตร “การจัดระบบอนุรักษ์ดิน และน้ำในเขตพัฒนาที่ดิน” ประกอบด้วย 4 ชุดวิชา คือ
  ชุดวิชาที่ 1 การวิเคราะห์สภาพพื้นที่และปัญหาในเขตพัฒนาที่ดิน
  ชุดวิชาที่ 2 มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำและการใช้หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
  ชุดวิชาที่ 3 มาตรการจัดการดินที่มีปัญหาและการปรับปรุงบ้ารุงดิน
  ชุดวิชาที่ 4 การดำเนินงานจัดท้าเขตพัฒนาที่ดินและสร้างเครือข่ายชุมชนมีส่วนร่วม : พื้นที่กรณีศึกษา

โดยกำหนดการเรียนชุดวิชาที่ 1 – 4 ชุดวิชาละ 1 เดือนครึ่ง รวม 6 เดือน



วัตถุประสงค์
  1. สามารถอธิบายความหมายของการวิเคราะห์สภาพพื้นที่และปัญหาในเขตพัฒนาที่ดิน
  2. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ ประกอบด้วยมาตรการวิธีกลและวิธีพืช ตลอดจนรูปแบบโครงสร้างมาตรฐานของระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ
  3. สามารถเลือกวิธีการจัดการดินที่มีปัญหาและการปรับปรุงบำรุงดินได้อย่างเหมาะสม
  4. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถประมวลและวิเคราะห์แนวทางการจัดทำเขตพัฒนาที่ดิน การยอมรับและทัศนคติของเครือข่ายชุมชน


เกณฑ์การวัดและประเมินผล
  มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ทั้ง 4 ชุดวิชา โดยแต่ละชุดวิชาจะเป็นคะแนนจาก Posttest เท่ากับ 100 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 60 ขึ้นไป จึงจะสามารถขอรับประกาศนียบัตรได้


หมายเหตุ
  1. ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ทั้ง 4 ชุดวิชา โดยแต่ละชุดวิชาต้องได้คะแนน 50% ขึ้นไป
  2. แบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) จะสามารถทำได้ไม่เกิน 5 ครั้ง


ย้อนกลับ